ประชาสัมพันธ์

โครงการ “จิตสำนึกรักเมืองไทย ปีที่ 10”

โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย
โครงการ “จิตสำนึกรักเมืองไทย” เป็นโครงการต่อเนื่องของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ดำเนินการโดยสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันประเทศ และรักษาความมั่นคง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสำนึกและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการสนับสนุนงานความมั่นคงของชาติและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

โดยโครงการนี้มีเป้าหมายเป็นเยาวชน อายุ ๑๕ – ๒๕ ปี ซึ่งเป็นพลังที่สำคัญต่ออนาคตของชาติ เน้นสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน ด้วยการเปิดเวทีให้เยาวชนได้ร่วมสะท้อนแนวคิด มุมมองต่อสถานการณ์บ้านเมืองผ่านหัวข้อที่กำหนดเพื่อให้ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด โดยเยาวชนได้พิจารณาศึกษาค้นคว้า แลกเปลี่ยนความเห็นถึงสภาวะทางสังคมและสร้างสรรค์ผลงานผ่านกิจกรรมการประกวด ซึ่งในแต่ละปีจะกำหนดหัวข้อและกิจกรรมการประกวดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในห้วงเวลา

คุณสมบัติผู้เข้าร่วประกวด
1. เยาวชนอายุ 15-25ปี ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย หรือ เทียบเท่า จากทุกโรงเรียน ทุกสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ทั่วประเทศ
2. มีจำนวนสมาชิกในทีมไม่เกิน 10 คน
3. มีครูหรืออาจารย์ที่ปรึกษารับรองโครงการ 1 คน และ มีผู้นำชุมชน ร่วมแสดงความจำนงเห็นชอบกับโครงการ 1คน
***โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งสามารถส่งทีมผู้เข้าประกวดได้มากกว่า 1 ทีม ซึ่งแต่ละทีมสามารถส่งผลงานได้ไม่จำกัดจำนวน
4. แต่ละทีมจะต้องนำเสนอ โครงการที่ทำขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์มีเนื้อหาตามแนวคิดหลักของโครงการคือการร่วมกันสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาท้องถิ่น หรือชุมชนอย่างสร้างสรรค์และทำได้จริงในระยะเวลาที่กำหนดคือ 30 วัน

หลักเกณฑ์การพิจารณา
1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นโครงงานที่สร้างคุณค่าและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน/สังคม ให้ดีขึ้นจากเดิมในด้านต่างๆ สอดคล้องกับแนวคิดหลักและเนื้อหาจิตสำนึกรักเมืองไทย ที่ส่งเสริมจิตสำนึกรักประเทศในด้านต่างๆ ความสามัคคี /ค่านิยม / วัฒนธรรม และ ประเพณีอันดีงามของสังคม สร้างโอกาสให้ผู้รับมีชีวิตที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ อารมณ์ สังคม โอกาส สติปัญญาและต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้นำชุมชน
2. ทีมผู้เข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง เหมาะสมไม่ขัดต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น รับกับพื้นฐานความต้องการของชุมชน
3. เป็นกิจกรรม นำหลักการ นวัตกรรม ภูมิปัญญา หรือ การนำเทคโนโลยี มาใช้ในการเสนอ ผลงาน
4. ส่งเสริมประสบการณ์การพัฒนาด้านจริยธรรม ทักษะความรู้ สติปัญญาการเรียนรู้ของผู้ทำโครงการ
5. มีการวางแผนที่ดีทั้งในการปฏิบัติ กำลังพล และการใช้งบประมาณ
6. ประมาณการประโยชน์/คุณค่า/มูลค่า เปรียบเทียบกับการใช้งานฐานเดิม
7. มีโอกาสต่อยอด และพัฒนาผลงาน/โครงการเพื่อความยั่งยืน
หมายเหตุ หากพบในภายหลังว่ามีการละเมิดลิขสิทธ์ หรือ มีความขัดแย้งกับชุมชนจากโครงการที่ทำนี้ ทางคณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิทธิ์จากการประกวดและริบเงินรางวัลคืนได้ทันที

หลักฐานการสมัคร
– ผู้เข้าประกวดแต่ละทีมจะต้องส่งโครงงาน โดยเสนอเป็นเอกสารแนวความคิด หลักการ เหตุผล ขั้นตอนการดำเนินงาน ความสำเร็จ ประโยชน์ที่ได้รับ ชื่อโครงการ และอื่นๆ ตามรายละเอียดในเอกสารการสมัคร
– ผู้เข้าประกวดแต่ละทีมจะต้องส่ง Clip หรือ File VDO บรรยายรายละเอียดของโครงงานอย่างชัดเจน โดยมีความยาวไม่เกิน 5 นาที

อ่านหลักเกณฑ์การประกวดและรายละเอียดการประกวดได้ที่ http://www.xn--12casb9dpk0elf8exbzck1a0bw4n6cxi.com/description.php

ที่มา และขอขอบคุณภาพ : http://www.จิตสํานึกรักเมืองไทย.com