การประกันอุบัติเหตุ

1. นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ทำประกันอุบัติเหตุตลอดหลักสูตรแล้ว
2. นักศึกษาสามารถเบิกกรมธรรมธ์ คุ้มครองได้ ดังนี้
– สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะภัย เบิกได้ 240,000 บาท
– สูญเสียชีวิตอุบัติเหตุพิเศษ เบิกได้ 240,000 บาท
– สูญเสียชีวิตจากอาหารที่มหาวิทยาลัยจัดให้นักศึกษาเป็นพิษ เบิกได้ 120,000 บาท
– สูญเสียชีวิตอุบัติเหตุทั่วไป เบิกได้ 120,000 บาท
– ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิตจากเจ็บป่วย เบิกได้ 10,000 บาท
– สูญเสีย สายตา มือเท้า (สองส่วน) เบิกได้ 120,000 บาท
– สูญเสีย สายตา มือเท้า (หนึ่งส่วน) เบิกได้ 72,000 บาท
– ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ เบิกได้ 10,000 บาท
– เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง (ผู้ช่วยนอก) เบิกได้ 500 บาท
– เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง (ผู้ช่วยใน) เบิกได้ 2,000 บาท
– เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง พรบ. (ผู้ช่วยนอก) เบิกได้ 500 บาท
– เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง พรบ. (ผู้ช่วยใน) เบิกได้ 2,000 บาท
– สูญเสียชีวิตจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ เบิกได้ 120,000 บาท
– เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง พรบ. (ผู้ช่วยนอก) เบิกได้ 500 บาท
– เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง พรบ. (ผู้ช่วยใน) เบิกได้ 2,000 บาท
– สูญเสียชีวิตจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ เบิกได้ 120,000 บาท

เมื่อนักศึกษาเกิดอุบัติเหตุจะปฏิบัติอย่างไร
กรณีเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล โดยชำระเงินสด ปฏิบัติดังนี้
1. นักศึกษาสามารถเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล คลินิก ได้ทุกโรงพยาบาล
2. เมื่อเข้ารับการรักษา นักศึกษาต้องชำระเงินสด และทุกครั้งที่รับการรักษาให้เก็บใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ฉบับจริง เพื่อนำมายื่นคำร้องขอรับค่าสินไหมทดแทน(ค่ารักษาพยาบาล)
3. กรณีเกิดจากอุบัติเหตุจราจร หรือถูกทำร้ายร่างกาย ต้องมีบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจ
4. นักศึกษาติดต่อยื่นเอกสารที่งานประกันอุบัติเหตุ ณ กองพัฒนานักศึกษา เพื่อกรอกคำร้องขอรับค่าสินไหมทดแทน
กรณีนี้ ต้องนำหลักฐานมายื่นที่งานประกันอุบัติเหตุ กองพัฒนานักศึกษา มีดังนี้
1. ใบเสร็จรับเงิน และใบรับรองแพทย์ฉบับจริง
2. ใบบันทึกประจำวัน (ถ้ามี)
3. สำเนาบัตรนักศึกษา หรือสำเนาบัตรประชาชน
** เอกสารทุกอย่าง ๆ ละ 1 ฉบับ **

การรับสิทธิรับเงินชดเชย ควรทำอย่างไร
กรณีใช้สิทธิเบิกบัตรทอง 30 บาท (ผู้ป่วยใน , ผู้ป่วยนอก)
นักศึกษา จะใช้สิทธินี้ได้ต้องไม่มีค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง และต้องดำเนินการชำระเงินสด โดยมีเอกสารที่ต้องนำมายื่นที่งานประกันอุบัติเหตุ กองพัฒนานักศึกษา ดังนี้
1. สำเนาบัตรทอง 1 ฉบับ
2. ใบเสร็จรับเงิน 1 ฉบับ (ฉบับจริง)
3. ใบรับรองแพทย์ 1 ฉบับ (ฉบับจริง)
4. สำเนาบัตรนักศึกษา 1 ฉบับ (เซ็นสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย)
5. ใบคำร้องขอรับค่าสินไหมทดแทน (กรอกที่กองพัฒนานักศึกษา)
กรณีใช้สิทธิเบิกพรบ. (เฉพาะอุบัติเหตุเกิดจากจราจรเท่านั้น)
หมายเหตุ ผู้ป่วยใน รับเงิน 2,000 บาทผู้ป่วยนอก รับเงิน 500 บาท

ผู้ป่วยใน ต้องมีค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 14,000 บาท(โรงพยาบาลดำเนินการเบิกพรบ.ให้) โดยไม่มีค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องอีก มีเอกสารดังนี้
1. บันทึกแจ้งความจากสถานีตำรวจ 1 ฉบับ
2. สำเนาใบรับรองแพทย์ 1 ฉบับ
3. สำเนาใบเสร็จรับเงินที่นำไปเบิก พรบ. มา 1 ฉบับ
4. สำเนาทะเบียนรถหรือสำเนาพรบ. ของรถคันที่เกิดอุบัติเหตุ 1 ฉบับ
หมายเหตุ รับเงินชดเชย 2,000 บาท

ผู้ป่วยนอก นักศึกษาจะใช้สิทธินี้ได้ต้องไม่มีค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง และต้องดำเนินการชำระเงินสด เพื่อนำเอกสารเบิกค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทกรมธรรม์ พรบ. ที่ได้ทำไว้ มีเอกสารดังนี้
1. บันทักประจำวันของสถานีตำรวจ
2. กรมธรรม์ประกันภัย
3. สำเนาบัตรประชาชน(ผู้ป่วย)และเจ้าของรถ
4. สำเนาทะเบียนบ้าน(ผู้ป่วย) และเจ้าของรถ
5. สำเนาทะเบียนรถ
**เอกสารทุกอย่าง ๆ ละ 2 ฉบับ**

หมายเหตุ รับเงินตามใบเสร็จฉบับจริงจากบริษัทของ พรบ.

ส่วนเอกสารที่นักศึกษา นำมายื่นที่งานประกันอุบัติเหตุ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
มีเอกสารดังนี้
1. บันทึกแจ้งความจากสถานีตำรวจ
2. สำเนาใบรับรองแพทย์
3. สำเนาใบเสร็จรับเงินที่นำไปเบิกพรบ. มา
4. สำเนาทะเบียนรถหรือสำเนาพรบ. ของรถคันที่เกิดอุบัติเหตุ
**เอกสารทุกอย่าง ๆ ละ 1 ฉบับ**
หมายเหตุ รับเงินชดเชย 500 บาท

กรณีการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แนบเอกสารสำหรับการเบิก ดังนี้
(เตรียมเอกสารทุกรายการ จำนวน 2 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วยลายเซ็นเดียวกันทั้งชุด)
1. สำเนาบัตรประชาชน ของ ผู้เสียชีวิต บิดา มารดา และผู้รับผลประโยชน์
2. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้เสียชีวิต บิดา มารดา และผู้รับผลประโยชน์
3. สำเนาใบชันสูตรศพจากสถาบันนิติเวช หรือหนังสือรับรองการตาย
4. สำเนาใบมรณะบัตร
5. บันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจโดยรับรองสำเนาถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ